News & Events

Back

เตรียมพร้อมให้ดี!! ธุรกิจใดบ้าง ที่เข้าข่ายเสียภาษี E-Commerce

11-12-2018 ธุรกิจ -

เตรียมพร้อมให้ดี!! ธุรกิจใดบ้าง ที่เข้าข่ายเสียภาษี E-Commerce

            เมื่อทำธุรกิจ แน่นอนว่าต้องมีรายได้เกิดขึ้น ไม่ว่ารายได้จะมากหรือน้อยก็ตาม ซึ่งทุกธุรกิจจะต้องทำการเสียภาษี ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเป็นตัวกลางในการสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ หรือเรียกว่าธุรกิจ E-Commerce ที่เป็นคำติดปากของคนทั่วไปว่า “การซื้อขายออนไลน์”

            ดังนั้นเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของประเทศไทย และสร้างความเป็นธรรมในภาระภาษีระหว่างผู้ประกอบการในประเทศและต่างประเทศ กรมสรรพากร และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ) จึงได้มีการตรากฎหมาย เพื่อรองรับการจัดเก็บภาษีจากผู้ประกอบการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะทำการจัดเก็บการทำธุรกรรมซื้อขายสินค้าและการโอนเงินที่เกิดขึ้นภายในประเทศไทย โดยธุรกิจที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีอีคอมเมิร์ซ มีดังต่อไปนี้

เว็บไซต์ที่สร้างขึ้น เพื่อขายสินค้า (E-Shopping)

            เป็นเว็บไซต์ที่มีระบบในการเลือกซื้อสินค้า และบริการด้วยอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าและบริการของผู้ขาย เป็นระบบซื้อขายออนไลน์ที่ครบสมบูรณ์ ทั้งระบบการจัดการสินค้า ระบบตระกร้าสินค้า ระบบชำระเงิน รวมถึงระบบขนส่ง

เว็บไซต์ที่เป็นสื่อกลางในการติดต่อซื้อ-ขายสินค้า (E-Marketplace)

            เป็นเว็บไซต์ขนาดใหญ่ที่รวบรวมสินค้าจากร้านค้า และบริษัทต่าง ๆ ไว้ในที่เดียวกัน  โดยเป็นพื้นที่บนออนไลน์ที่เปิดให้ผู้ซื้อ – ผู้ขายสามารถติดต่อซื้อขาย และแลกเปลี่ยนข้อมูลของสินค้าได้ง่ายยิ่งขึ้น

เว็บไซต์แสดงรูปภาพ และราคาของสินค้า (Web Catalog)

            เป็นเว็บไซต์ในรูปแบบของแคตตาล็อก ที่มีเพียงรูปภาพ รายละเอียดของสินค้า และข้อมูลติอต่อของผู้ขาย ซึ่งเว็บไซต์รูปแบบนี้จะไม่มีข้อมูลการชำระเงิน หรือตระกร้าสินค้า (Shopping Cart) หากผู้ซื้อต้องการสั่งซื้อสินค้าจะต้องติดต่อไปยังช่องทางอื่น ๆ ของผู้ขายด้วยตนเอง เช่น ติดต่อไปทาง Line หรือช่องแชทบนแอปพลิเคชันต่าง ๆ เป็นต้น

ขายสินค้าบนแพลตฟอร์ม ที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของตนเอง (Community Web)

            การขายสินค้าบนแพลตฟอร์ม ที่เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกัน โดยไม่ต้องมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง

เว็บไซต์สำหรับซื้อขายภาพดิจิทัล (Stock Photo)

            คือเว็บไซต์สำหรับขายภาพดิจิทัล ที่กำลังได้รับความนิยมในหมู่ช่างภาพที่ต้องการสร้างรายได้ให้กับตนเอง โดยเราเรียกภาพเหล่านั้นว่า ภาพสต๊อกเป็นภาพที่สื่อความหมายได้ดี มีจุดมุ่งหมายเพื่อขายภาพให้กับเอเจนซี่ นักออกแบบ เว็บไซต์ และงานโฆษณาต่าง ๆ

การรับโฆษณาจากเว็บไซต์  Google AdSense

            คือหนึ่งในบริการของ Google ที่เปิดโอกาสให้ผู้มีเว็บไซต์หารายได้เพิ่มขึ้น โดยเว็บไซต์ของเราจะมีโฆษณาที่ทางกูเกิลส่งมาให้ เพื่อโฆษณาบนหน้าเว็บไซต์ของเรา อย่างเช่นเว็บไซต์ของเราเป็นเว็บไซต์ท่องเที่ยว โฆษณาที่จะลงบนเว็บก็จะเกี่ยวกับโรงแรม สายการบิน และอื่น ๆ

เว็บไซต์ที่ทำ SEO (Search Engine Optimization)

            คือการทำให้เว็บไซต์อยู่ในผลการค้นหาเป็นอันดับแรก ๆ เมื่อลูกค้าค้นหาใน Google จะปรากฏเว็บไซต์ของเราอยู่ในหน้าแรก อย่างไรก็ตามเว็บไซต์ประเภทนี้จะต้องดูเหตุผลอื่น ๆ ประกอบด้วย

เว็บไซต์รับรีวิวสินค้า หรือเป็นนายหน้าในการขายสินค้า (Affiliate Marketing)

            เป็นเว็บไซต์ที่มีจุดมุ่งหมายในการรับรีวิวสินค้า โดยจะได้รับค่าจ้าง หรือค่าคอมมิชชัน เมื่อเรานำสินค้า/บริการไปโปรโมท รีวิว ให้ผู้อื่นสนใจและซื้อตาม ซึ่งคุณจะได้เงินจากส่วนหนึ่งของกำไรต่อการซื้อขายที่เกิดขึ้นจากคุณ ตัวอย่างเช่น การรับรีวิวและบอกต่อให้ผู้ซื้อใส่ Code ลดราคาของตนเอง

เว็บไซต์สำหรับเล่นเกมออนไลน์ (Game Online)

            คือเว็บไซต์ที่ให้บริการเล่นเกมผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยในหนึ่งเกมสามารถรองรับผู้เล่นได้จำนวนมากไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ใดก็ตาม

 

ARAC : ผู้ให้ความรู้และให้ปรึกษาด้านภาษีอากร

บอกต่อ : 
ข่าวที่แนะนำ

Back