องค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชน ผู้บริหารควรให้ความสำคัญกับความพึงพอใจของพนักงาน เนื่องจากความพึงพอใจและการมีส่วนร่วมของพนักงานมีบทบาทสำคัญต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรตามที่ได้กำหนดไว้ ดังนั้นการสำรวจความพึงพอใจของพนักงานจึงเปรียบเสมือนเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์และความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานในเชิงบวก อีกทั้งยังเป็นแรงจูงใจที่สำคัญลำดับต้น ๆ สำหรับพนักงาน ในการกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานเพิ่มผลผลิต และประสิทธิภาพของการทำงานให้สูงขึ้น ท้ายที่สุดประสิทธิภาพของการทำงานที่ดีจะส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กร
โดยบริการในการสร้างภาพลักษณ์องค์กรของบริษัทจะเน้นไปที่การสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานในองค์กรของลูกค้า เนื่องด้วยการเปิดโอกาสให้พนักงานในองค์กรของลูกค้าเสนอความคิดนั้น จะทำให้การวางแผนการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรของเราดียิ่งขึ้น และทำงานได้รวดเร็วมากขึ้นอีกด้วย
การออกแบบงานวิจัย
เทคนิควิธีวิจัยที่ใช้
ใช้การวิจัยเชิงปริมาณกับพนักงานในองค์กรเพื่อให้สามารถอธิบายได้ตามหลักสถิติ
โดยการวิเคราะห์ข้อมูล และการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาความคิดเห็นของพนักงาน
ในการทำงานต่อองค์กร ได้อย่างแท้จริง
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
ใช้การสัมภาษณ์แบบเผชิญหน้า (Face to Face Interview)
การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Telephone Interview) โดยพนักงานผู้สัมภาษณ์ที่มีประสบการณ์
ความเชี่ยวชาญ หรือการสำรวจออนไลน์ (Online Survey) ในการวิจัยเชิงปริมาณ
และการวิจัยเชิงคุณภาพ บริษัทสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้จากการสนทนากลุ่ม (Focus group)
การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) อภิปรายกลุ่ม (Discussion Group)
ตามความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของแต่ละงานวิจัย
คุณค่าที่ได้รับ:
• ความคิดเห็นของพนักงานผู้ปฏิบัติงานในการทำงานต่อองค์กรที่แท้จริง
• แนวทางในการกำหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการทรัพยากรที่แท้จริง
• แนวทางในการกำหนดนโยบายการจ่ายผลตอบแทน หรือสวัสดิการแก่พนักงาน
• พนักงานได้มีโอกาสแสดง ศักยภาพที่ซ่อนเร้นอยู่