คลังความรู้ สู่สังคมไทย | Advanced Research Group

Back

สิ่งที่ควรรู้ก่อนสมัครงาน : เขียนจดหมายสมัครงานอย่างไร ให้สมบูรณ์แบบ

สิ่งที่ควรรู้ก่อนสมัครงาน : เขียนจดหมายสมัครงานอย่างไร ให้สมบูรณ์แบบ

30-10-2018

            ผู้สมัครงานบริษัทหลาย ๆ คนไม่ค่อยให้ความสนใจกับจดหมายแนะนำตัว ในการสมัครงาน เพราะคิดว่าผู้จ้างงาน หรือฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) อาจไม่มีเวลามานั่งอ่าน ดังนั้นจึงส่งแค่ประวัติการทำงาน หรือเรซูเม่ (Resume) เพียงอย่างเดียว แต่คุณรู้ไหมว่า จดหมายแนะนำตัว หรือ Cover Letter สามารถเสริมจุดเด่นให้คุณเหนือคู่แข่งได้ หากใครสนใจเขียนจดหมายแนะนำตัวสามารถเขียนได้ด้วยตนเอง ซึ่งต้องมีส่วนประกอบดังต่อไปนี้

1. ส่วนหัว (Header)

           ส่วนหัวของหัวกระดาษ หรือข้อความจะขึ้นอยู่กับบริษัทที่เราสมัครงาน หากเป็นธุรกิจที่เป็นทางการคุณควรใช้ส่วนหัวที่เป็นทางการ เพื่อเขียนเปิดจดหมายแนะนำตัวของคุณ ตัวอย่างเช่น ใส่ที่อยู่ตัวเอง, วันที่ และที่อยู่ของบริษัท แต่ถ้าบริษัทที่คุณสมัครงานไม่ได้เคร่งครัดมาก ไม่จำเป็นต้องใส่ชื่อบริษัท และที่อยู่ของบริษัทก็ได้ ให้ระบุเพียงวันที่เท่านั้น​

2. การทักทายด้วยความสุภาพ

           เริ่มต้นการทักทายด้วยการใส่ชื่อบุคคล หรือแผนกที่คุณต้องการติดต่อ สำหรับชื่อบุคคล คุณอาจต้องใช้เวลาในการค้นหาชื่อของผู้จ้างงาน หรือชื่อผู้จัดการด้วยชื่อเต็ม โดยขึ้นต้นด้วยนาย, นางสาว หรือนาง แต่ถ้าคุณไม่มั่นใจชื่อของพวกเขา คุณสามารถใช้คำสุภาพ เพื่อกล่าวทักทายแทนชื่อเต็มได้เช่นกัน​

3. การแนะนำตัวเอง (Introduction)

           หากเปิดย่อหน้าแนะนำตัวเองควรมี 1-3 ประโยค โดยอธิบายเหตุผลที่คุณรู้สึกตื่นเต้นที่จะสมัครงาน และสิ่งที่ทำให้คุณดูเป็นผู้สมัครงานที่สมบูรณ์แบบ ไม่ต้องอธิบายตำแหน่งที่คุณพบโพสต์สมัครงาน หรือคนที่คุณรู้จักในบริษัท เพียงแค่ระบุเหตุผลของการสมัครในตำแหน่งงานนั้น ซึ่งเหตุผลต้องเชื่อมโยงกับประวัติส่วนตัว หรือประวัติการทำงานที่ผ่านมาของคุณด้วย​

4. ทำไมคุณถึงเหมาะสมกับตำแหน่งงานที่สมัคร

           ย่อหน้านี้ คุณต้องนำเสนอจุดเด่นของตัวคุณเอง และประสบการณ์ของคุณ ซึ่งคุณสามารถใช้ย่อหน้านี้ เพื่อแสดงว่าคุณตื่นเต้น และสนใจในตำแหน่งงานอย่างแท้จริง รวมถึงนำเสนอจุดเด่นอื่น ๆ ดังต่อไปนี้​

  • เลือกหนึ่งหรือสองประสบการณ์ที่คิดว่าเหมาะสมกับตำแหน่งงานที่คุณสมัครงานมากที่สุด
  • คุณทำอะไรที่บริษัทก่อนหน้านี้?
  • โครงการใดที่คุณเคยทำ และคิดว่าจะเป็นประโยชน์กับบริษัทใหม่อย่างไร?
  • ประสบการณ์ก่อนหน้าของคุณจะช่วยให้บริษัทนี้เติบโตได้อย่างไร?

5. ทำไมบริษัทถึงเหมาะสำหรับคุณ

           บริษัทส่วนใหญ่ อยากรู้ว่า ทำไมผู้สมัครถึงคิดว่าบริษัทถึงเหมาะสมกับตนเอง เพราะสิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญมากที่จะบอกว่าคุณมีความเหมาะสมกับงานหรือไม่ นอกจากนี้ในย่อหน้านี้คุณสามารถบอกเกี่ยวกับการพัฒนาอาชีพของคุณในบริษัทใหม่ ตัวอย่างเช่นผู้สมัครใช้พื้นที่นี่ เพื่อแสดงความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น เป็นต้น​

 

คำที่เกี่ยวข้องภาษาไทย : 
สมัครงานสมัครงานบริษัทอาชีพรับสมัครงานหางานงาน
คำที่เกี่ยวข้องภาษาอังกฤษ :
Thai jobBangkok jobjob thaijobthaiweb

บอกต่อ : 
The Knowledge Provider (AR Group)

Back