The Knowledge Provider | Advanced Research Group

Back

สิ่งที่ควรรู้ก่อนเปิดธุรกิจ : 4 ภาษีสำหรับคนทำธุรกิจมีอะไรบ้าง

สิ่งที่ควรรู้ก่อนเปิดธุรกิจ : 4 ภาษีสำหรับคนทำธุรกิจมีอะไรบ้าง

08-10-2018

            การเริ่มต้นทำธุรกิจ ไม่ใช่แค่จดทะเบียนบริษัทเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงภาษีที่ทุกธุรกิจต้องให้ความสำคัญ ซึ่งในประเทศไทยมีภาษีหลากหลายรูปแบบด้วยกันที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ดังนั้นคนเริ่มทำธุรกิจควรรู้ว่าธุรกิจของตนเองนั้นต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

            โดยก่อนที่จะเริ่มดูว่าทำธุรกิจต้องเสียภาษีอะไร เราต้องดูก่อนว่าธุรกิจเป็นการจดทะเบียนบริษัทรูปแบบใด ซึ่งธุรกิจจะมีอยู่ 2 รูปแบบด้วยกัน คือรูปแบบบุคคลธรรมดา และรูปแบบนิติบุคคล มีภาษีที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

1. ภาษีเงินได้

ภาษีเงินได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ

       - ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

             ภาษีประเภทนี้ สำหรับเจ้าของธุรกิจที่จดทะเบียนธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา หรือธุรกิจที่มีเจ้าของเพียงคนเดียว จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยมีอัตราภาษีก้าวหน้า (Progressive Taxation) อยู่ที่ 5% - 35% ซึ่งอัตราภาษีจะลดลง หรือเพิ่มขึ้นจะขึ้นอยู่กับฐานภาษี

การยื่นภาษีกลางปี (ภ.ง.ด. 94) สำหรับผู้มีเงินได้ประเภทที่ 5-8

การยื่นภาษีปลายปี (ภ.ง.ด. 90, 91)

 

      - ภาษีเงินได้นิติบุคคล

             ภาษี สำหรับเจ้าของธุรกิจที่จดทะเบียนนิติบุคคล ทั้งห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล บริษัท และบริษัทจำกัดมหาชน โดยมีอัตราภาษีอยู่ที่ 5% - 20% โดยขึ้นอยู่กับขนาดและรายได้ของธุรกิจ

การยื่นภาษีกลางปี (ภ.ง.ด. 51)

การยื่นภาษีปลายปี (ภ.ง.ด.50)

2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม

             คือ ภาษีทางอ้อมที่ใช้เพื่อเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้า ซึ่งเป็นหนึ่งในภาษีที่ทางรัฐบาลเรียกเก็บ เพื่อนำรายได้เก็บเข้าประเทศ โดยภาษีมูลค่าเพิ่มจะเป็นมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นจากขั้นตอนการผลิต สินค้า บริการ และการจำหน่ายสินค้าประเภทต่าง ๆ แต่ภาษีประเภทนี้ไม่ได้เรียกเก็บจากผู้บริโภคโดยตรง แต่จะให้ผู้ประกอบการเรียกเก็บจากลูกค้าแล้วนำภาษีมูลค่าเพิ่มไปชำระให้กับกรมสรรพากร

            โดยกิจการที่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องมีรายได้ 1.8 ล้านบาท/ปี จะต้องยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม : ภ.พ.  30

3. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

             คือ ภาษีที่ผู้จ่ายเงินจะหักเงินไว้ส่วนหนึ่ง จากเงินที่ต้องจ่ายให้กับผู้รับ หรือผู้มีเงินได้ที่เป็นทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล แล้วนำไปยื่นให้กรมสรรพากร ส่วนผู้รับเงินจะได้รับหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย จากผู้จ่ายเงิน เพื่อนำไปยื่นกับกรมสรรพากรทราบว่าได้ทำการชำระภาษีในรูปแบบของ ภาษีหัก ณ ที่จ่ายแล้ว

แบบภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับออกให้บุคคลธรรมดา คือ ภ.ง.ด.3 และสำหรับออกให้นิติบุคคล คือ ภ.ง.ด. 53

4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ

             เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ประกอบการกิจการเฉพาะ ได้แก่ ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจเงินทุน ประกันชีวิต หลักทรัพย์ จำนำ ขายอสังหาริมทรัพย์และอื่น ๆ ที่เป็นการค้าหรือเพื่อแสวงหากำไร โดยยื่นแบบภาษี ภ.ธ. 40 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

 

คำที่เกี่ยวข้องภาษาไทย :
บัญชีจดทะเบียนบริษัทจดทะเบียนการค้าจองชื่อบริษัททำบัญชีรับทำบัญชี
คำที่เกี่ยวข้องภาษาอังกฤษ :
e filingrefundthailand vat ratethailand income tax calculatorproperty tax thailand

บอกต่อ : 
The Knowledge Provider (AR Group)

Back