The Knowledge Provider | Advanced Research Group

Back

ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

16-01-2017

   ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยทั่วไป มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ (เว้นแต่ ผู้ประกอบกิจการค้าปลีกซึ่งมีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ) โดยใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้

1. คำว่า “ใบกำกับภาษี” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
คำว่า “ใบกำกับภาษี” เป็นข้อความที่กฎหมายบังคับให้ต้องระบุไว้ในเอกสารซึ่งมีความมุ่งหมายให้เป็นใบกำกับภาษี นอกจากนี้ ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปรวมกับเอกสารทางการค้าอื่น เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของ ใบแจ้งหนี้ ซึ่งมีจานวนหลายฉบับอยู่ใน ชุดเดียวกัน และใบกำกับภาษีมิใช่เอกสารฉบับแรกของเอกสารดังกล่าว ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้

(1) ในใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษีของเอกสารชุดดังกล่าว จะต้องมีข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” ไว้ด้วย

(2) ในสำเนาของใบกำกับภาษี จะต้องมีข้อความว่า “สำเนาใบกำกับภาษี” ไว้ด้วย ข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” และ “สำเนาใบกากับภาษี” ตามวรรคหนึ่ง จะต้องตีพิมพ์ขึ้นหรือจัดทาขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในกรณีจัดทาใบกำกับภาษีขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ จะประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือกระทาให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นในลักษณะทำนองเดียวกันไม่ได้

2. รายการคำว่า “ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการ จดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี”
(ก) ชื่อของผู้ออกใบกำกับภาษี หมายถึง ชื่อผู้ประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือชื่อสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือชื่อการค้าของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ชื่อของผู้ออกใบกำกับภาษีจะใช้ชื่อย่อไม่ได้

กรณีชื่อผู้ออกใบกำกับภาษีหรือผู้รับใบกำกับภาษีที่มีสถานะเป็นนิติบุคคล คาที่บอกสถานะสามารถใช้คำย่อแทนได้ ดังนี้
(1) บริษัท จำกัด ใช้คำย่อว่า บ. ... จก. หรือ บจ.
(2) บริษัท (มหาชน) จำกัด ใช้คาย่อว่า บมจ. ...
(3) ห้างหุ้นส่วนจากัด ใช้คาย่อว่า หจก. ...
(4) ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ใช้คำย่อว่า หสน. ...
(ข) ที่อยู่ของผู้ออกใบกำกับภาษี หมายถึง ที่ตั้งของสถานประกอบการตามที่ได้ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ไว้

กรมสรรพากรได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 199) ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2556 กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้จัดทาใบกากับภาษีแบบเต็มรูป จะต้องระบุข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการ ซึ่งเป็นสถานที่ขายสินค้าหรือให้บริการไว้ในใบกากับภาษี ดังนี้

(1) กรณีสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนไว้ในทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ของผู้ขายสินค้าหรือให้บริการเป็นสานักงานใหญ่ ให้ระบุข้อความคำว่า “สานักงานใหญ่” หรือระบุคาย่อที่แสดงได้ว่าเป็นสานักงานใหญ่ เช่น “สนญ.” “HO” “HQ” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขศูนย์จานวนห้าหลัก (00000) เพื่อแสดงว่าตัวเลขศูนย์จานวนห้าหลัก (00000) เป็นรหัสของสานักงานใหญ่ ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย

(2) กรณีสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนไว้ในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ของผู้ขายสินค้าหรือให้บริการเป็นสาขา ให้ระบุข้อความคาว่า “สาขาที่ ...” โดยเลขที่ของสาขา ให้ระบุเลขที่สาขาตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ เช่น “สาขาที่ ...” “Branch No. …” “br.no …”เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขจานวนห้าหลักเพื่อแสดงว่าเป็นรหัสของ “สาขาที่ ...” เช่น 00001 ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย

ข้อสังเกต
ข้อความตาม (1) (2) จะตีพิมพ์ หรือจัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด ก็ได้ ทั้งนี้ สำหรับการจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปที่ได้จัดทาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป

(ค) เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ออกใบกำกับภาษี
ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป กรมสรรพากรได้กำหนดให้ ผู้เสียภาษีสรรพากรทุกประเภท ทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดา คณะบุคคล บริษัท และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก แทนเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 10 หลัก ที่ใช้อยู่เดิมในการยื่นแบบแสดงรายการ การชำระภาษี การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย การติดต่อราชการกับกรมสรรพากร รวมทั้งการจัดเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การจัดทำใบกำกับภาษี การจัดทำใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น โดยการใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลักนั้น ได้แบ่งการใช้ออกตามประเภทของผู้เสียภาษีอากร ดังนี้

(1) ผู้เสียภาษีประเภทบุคคลธรรมดา ให้ใช้เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ออกให้ เป็นเลขประจาตัวผู้เสียภาษีอากร

(2) ผู้เสียภาษีประเภทนิติบุคคลไทย หรือนิติบุคคลต่างประเทศ ที่ต้องจดทะเบียนหรือขออนุญาตกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ให้ใช้เลขทะเบียนนิติบุคคลที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ออกให้ เป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร

(3) ผู้เสียภาษีที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามข้อ 1 และข้อ 2 ให้ใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก ที่กรมสรรพากรออกให้

3. รายการ “ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ”
(ก) “ชื่อ” ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ หมายถึง ชื่อผู้ประกอบการตามที่ได้ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือชื่อสถานประกอบการ หรือชื่อการค้าของสถานประกอบการตามที่ได้ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีบุคคลธรรมดาหมายความรวมถึง นามสกุลด้วย
(ข) “ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ” หมายถึง ที่ตั้งของสถานประกอบการ ตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป กรมสรรพากรได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 199) ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2556 กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่ได้จัดทำใบกากับภาษีแบบเต็มรูป จะต้องระบุเลขประจาตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนไว้ในใบกำกับภาษี รวมทั้งจะต้องระบุข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในใบกำกับภาษี ดังนี้

(1) กรณีสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเป็นสำนักงานใหญ่ ให้ระบุข้อความคาว่า “สำนักงานใหญ่” หรือระบุคาย่อที่แสดงได้ว่าเป็นสำนักงานใหญ่ เช่น “สนญ.” “HO” “HQ” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขศูนย์จำนวนห้าหลัก (00000) เพื่อแสดงว่าตัวเลขศูนย์จานวนห้าหลัก (00000) เป็นรหัสของสำนักงานใหญ่ไว้ในใบกากับภาษีดังกล่าวด้วย

(2) กรณีสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเป็นสาขา ให้ระบุข้อความคาว่า “สาขาที่ ...”โดยเลขที่ของสาขาให้ระบุเลขที่สาขาตามที่ได้ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น สาขาที่ 1 สาขาที่ 01 เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขจานวนห้าหลักตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อแสดงว่าเป็นรหัสของ “สาขาที่ ...” เช่น 00001 ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย
ข้อสังเกต
โดยข้อความตามข้อ (1) ข้อ (2) จะตีพิมพ์ หรือจัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทาให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทานองเดียวกันก็ได้

หมายเหตุ
เนื่องจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการบางรายยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในทางปฏิบัติ เกี่ยวกับการระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 199) ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2556 กรมสรรพากรจึงได้ออกคำชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ดังนี้

1) ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องระบุ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการไว้ในใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป เฉพาะกรณีผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น ถ้าผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการก็ไม่จำต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการนั้นไว้ในใบกำกับภาษีแต่อย่างใด

กรณีผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ได้แจ้งให้ลูกค้าซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการแจ้งรายการเกี่ยวกับเลขประจาตัวผู้เสียภาษีอากร โดยวิธีปิดเป็นประกาศ หรือแจ้งให้ลูกค้าทราบเป็นการทั่วไปหรือเป็นรายบุคคล หรือแจ้งโดยวิธีการอื่นใดแล้ว หากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้แจ้งรายการเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรให้ทราบ หรือแจ้งว่าไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการได้ออกใบกำกับภาษีโดยไม่ระบุเลขประจาตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการไว้ในใบกากับภาษีแบบเต็มรูป ถือได้ว่าผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการมิได้มีเจตนาที่ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปที่มีรายการไม่ครบถ้วน ตามกฎหมายแต่อย่างใด

2) ถ้าผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการมิได้แจ้งรายการเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรและรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการดังกล่าวและได้รับใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปซึ่งไม่มีรายการดังกล่าวนั้น ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีนั้นก็จะเป็นภาษีซื้อต้องห้าม ไม่สามารถนำไปใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ตามมาตรา 82/5 (2) แห่งประมวลรัษฎากร และถ้าการที่ไม่ได้แจ้งรายการดังกล่าวนั้นมีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรก็จะต้องรับผิดตามกฎหมายต่อไป

3) กรณีผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ไม่ต้องแจ้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของตนเองให้แก่ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการแต่อย่างใด

4. รายการ “หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขของเล่ม ถ้ามี”
ใบกำกับภาษีที่ไม่มีหมายเลขลำดับไม่ให้นาไปคำนวณเป็นภาษีซื้อ และในกรณีนี้ผู้ออกใบกำกับภาษีมีความผิด โดยมีรายการในส่วนที่เป็นสาระสำคัญไม่ครบถ้วน ปรับไม่เกิน 2,000 บาท

5. รายการ “ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ”
ชื่อ ชนิด ประเภท ของสินค้าหรือของบริการให้ระบุเฉพาะชื่อ ชนิด ประเภทของสินค้าหรือของบริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี เว้นแต่ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องระบุชื่อ ชนิด ประเภทของสินค้าหรือของบริการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในกำกับภาษีด้วย ให้กระทำได้โดยต้องจัดให้มีเครื่องหมายหรือแยกรายการแสดงให้เห็นชัดเจนว่าเป็นสินค้าหรือบริการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

6. รายการ “จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการให้ชัดแจ้ง”

7. รายการ “วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี”
วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี เป็นรายการที่เป็นสาระสำคัญที่ประมวลรัษฎากรกำหนดให้ต้องมีในใบกำกับภาษี และเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงวันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น คือ เป็นวันที่ได้มีการส่งมอบสินค้า โอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าให้กับผู้ซื้อ ได้มีการใช้บริการนั้นไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่น ได้รับชำระค่าสินค้าหรือบริการ หรือวันที่ออกใบกากับภาษี วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี จะใช้ตัวเลขแทนการระบุชื่อเดือนก็ได้ และใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) หรือคริสต์ศักราช (ค.ศ.) ก็ได้
ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะจัดทาใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปรวมกับเอกสารทางการค้าอื่น เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของ ใบแจ้งหนี้ ซึ่งมีจำนวนหลายฉบับอยู่ในชุดเดียว และใบกำกับภาษีมิใช่เอกสารฉบับแรกของเอกสารดังกล่าวให้ปฏิบัติดังนี้

1. ในใบกำกับภาษีและสาเนาใบกำกับภาษีของเอกสารชุดดังกล่าว จะต้องมีข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” ไว้ด้วย

2. ในสำเนาของใบกำกับภาษี จะต้องมีข้อความว่า “สำเนาใบกากับภาษี” ไว้ด้วย
ข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” และ “สำเนาใบกากับภาษี” จะต้องตีพิมพ์ขึ้นหรือจัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ จะประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือกระทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันไม่ได้

ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสถานประกอบการหลายแห่ง และสถานประกอบการ ที่มิใช่สานักงานใหญ่ได้นาใบกำกับภาษีของสถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ไปส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือการให้บริการ จะต้องมีข้อความว่า “สาขาที่ออกใบกำกับภาษี คือ...” ไว้ในใบกากับภาษีดังกล่าว โดยข้อความดังกล่าวจะตีพิมพ์ จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้

ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการสถานบริการน้ำมันได้ขายน้ำมันเชื้อเพลิงหรือได้ขายสินค้าหรือให้บริการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับรถยนต์ที่ต้องจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ จะต้องระบุเลขทะเบียนรถยนต์ไว้ในใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปด้วย โดยข้อความดังกล่าวจะตีพิมพ์ จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทำให้ปรากฏขึ้น ด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้
คำที่เกี่ยวข้องภาษาไทย :
บริการวางระบบงานและบัญชี,บริการให้คำปรึกษาด้านระบบบัญชี,บริการให้คำปรึกษาด้านภาษีอากร,บริการที่ปรึกษาทางภาษีอากร
คำที่เกี่ยวข้องภาษาอังกฤษ :
accounting & tax advisory services,accounting consultation,
accounting system setup consultation,Financial accounting system setup
-------------------------------------
AR GROUP : ตอบแทนสู่สังคมไทย

บอกต่อ : 
The Knowledge Provider (AR Group)

Back