ข้อมูลการลงทุนเชิงลึกในตลาดประเทศสิงคโปร์ ตอนที่ 2
2. ข้อมูลการลงทุน
2.1 กฎระเบียบการลงทุน
สิงคโปร์ไม่จำกัดในการลงทุนขั้นเริ่มแรก นักลงทุนจำเป็นต้องศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนกิจการ (Feasibility Study) อาทิ ประเภทของกิจการหรือธุรกิจที่สนใจและเดินทางไปสำรวจลู่ทางการลงทุนด้วยตนเอง หรือรับคำแนะนำจากบริษัทที่ปรึกษา โดยปกติการลงทุนในสิงคโปร์ผู้ลงทุนสามารถตัดสินใจว่า จะลงทุนเองทั้งหมดหรือลงทุนร่วมกับผู้ประกอบการท้องถิ่น แล้วจึงจัดทำรายงานข้อเสนอโครงการ (Proposal เพื่อยื่นขอจดทะเบียนบริษัทต่อ Accounting & Corporate Regulatory Authority (ACRA) ซึ่ง ACRA จะใช้เวลาในการพิจารณาอนุมัติจัดตั้งบริษัทประมาณ 14 - 60 วัน เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว จึงสามารถจัดตั้งบริษัทพร้อมจัดหาแรงงาน หากเป็นแรงงานต่างชาติต้องขอใบอนุญาตทำงานจากกระทรวงแรงงาน (Ministry of Manpower) หากมีการนำเข้าหรือส่งออกสินค้า ต้องขอใบอนุญาตจากหน่วยงาน International Enterprise Singapore (IE Singapore) ด้วย
การลงทุนโดยการจัดตั้งบริษัทในสิงคโปร์สามารถมีผู้ถือหุ้นต่างชาติได้ทั้งหมด โดยยื่นขอ จดทะเบียนบริษัทต่อกรมทะเบียนการค้าและธุรกิจ (Accounting & Corporate Regulatory Authority : ACRA เพื่อจดทะเบียนการจัดตั้งบริษัท/ธุรกิจภายใต้ Business Registration Act Cap 32 ซึ่งบุคคล ที่จะจัดตั้งบริษัทต้องจดทะเบียนกับ ACRA ในธุรกิจทุกสาขารวมถึง trade, commerce, craftsmanship, profession or any activity carried on for the purpose of gain รายละเอียดจากเว็บไซด์ www.acra.gov.sg
2.2 นโยบาย/มาตรการทางการค้า
นโยบายการค้าที่สำคัญ |
มาตรการภาษีทางการค้า |
มาตรการการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTB) |
- นโยบายการค้าเสรี การนำเข้า/ส่งออกสินค้าจาก ต่างประเทศเป็นไปอย่างเสรี โดยผู้นำ-เข้า/ผู้ส่งออกจะต้องจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทไว้กับหน่วยงานสิงคโปร์ Accounting & Corporate Regulatory Authority (ACRA) และได้รับใบอนุญาตการนำเข้า/การส่งออกจาก International Enterprise Singapore (I E Singapore)
- สินค้านำเข้าที่ต้องยื่นขออนุญาตนำเข้า ก่อนที่จะนำเข้าทุกครั้งมีจำนวน 53 รายการ
- สินค้าส่งออกที่ต้องยื่นขออนุญาต ส่งออกก่อนที่จะส่งออกทุกครั้งมี จำนวน 28 รายการ - การนำเข้า/ส่งออกสินค้าควบคุม ต้อง ขออนุญาตจากหน่วยงานที่มีอำนาจ
ทั้งนี้ รายละเอียดรายการสินค้านำเข้า/ ส่งออกและรายชื่อหน่วยงานควบคุม ดูได้ที่เว็ปไซด์ : www.customs.gov. sg |
- สินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่ไม่เก็บภาษีนำเข้า ยกเว้นสินค้า 4 รายการคือ 1)เครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์(เช่น เบียร์ เหล้าไวน์) 2) บุหรี่และยาสูบ 3) น้ำมันปิโตรเลียม 4) รถยนต์รถจักรยานยนต์ - สินค้าทุกชนิดที่นำเข้าจะต้อง เสียภาษีสินค้าและบริการ (Goods &Services Tax : GST) ร้อยละ 7 ทั้งนี้ รายละเอียดอัตราภาษีนำเข้าดูที่ Website: www.customs.gov.sg |
- มีข้อกำหนดสำหรับอาหารให้เป็นไปตามระเบียบ The Food Regulations หน่วยงานที่ควบคุม คือ Agri-Food Veterinary Authority (AVA) ภายใต้ Ministry of National Development ระเบียบข้อกำหนดที่สำคัญที่ ผู้ผลิตพึงถือปฏิบัติคือ Labeling Requirements ซึ่งต้อง พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษขนาดตัวอักษรสูงไม่น้อยกว่า 3 mm. พร้อมมีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องคือ - Common Name of Product - Nett Weight or Volume of Product - Name and Address of Manufacturer/-Country of Origin of Product - List of Ingredients in Descending Order of Proportions - Date of Marking for 19 Category of Products. Letters shall not be less than 3 mm in height and shall be show in one of the following ways:
Use By: dd/mm/yy Sell By:dd/mm/yy Expiry Date: dd/mm/yy Best Before: dd/mm/yy Importer/Packer/Distributor - Bar Code/EAN - Nutrition Facts Panel (NIP) - No "Health Claims" Allowed on the Label - Optional : "Halal" Logo on the Label |
2.3 การส่งเสริมการลงทุนในสิงคโปร์
สิงคโปร์เป็นประเทศที่ให้ความเท่าเทียมกันระหว่างนักลงทุนในประเทศและต่างประเทศจึงทำให้กฎหมายการลงทุนของสิงคโปร์เอื้อประโยชน์ต่อผู้ลงทุนเป็นอย่างมาก โดยไม่มีกำหนดขั้นต่ำของเงินลงทุน การถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างในสิงคโปร์ รวมถึงอิสระในการโอนเงินตราต่างประเทศและ ผลกำไรในการประกอบธุรกิจออกนอกประเทศอย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตว่า การลงทุนในลักษณะตั้งโรงงาน เพื่อผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มและต้องใช้การทำวิจัย (Research & Development) มักจะได้รับการทาบทามขอเป็นหุ้นส่วนจากองค์กรของรัฐบาล (Government Link) แต่มีธุรกิจบางประเภทที่จำกัดสัดส่วนการลงทุน อาทิ การกระจายเสียงและการจัดสรรคลื่นความถี่ (สูงสุดไม่เกินร้อยละ 49) กิจการด้านหนังสือพิมพ์ (ไม่เกินร้อยละ 5) และกิจการที่ห้ามนักวิสาหกิจของรัฐลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุน ได้แก่ ธุรกิจด้านกฎหมายและการประกอบอาชีพทนายความ รวมถึงบางสาขาที่เกี่ยวข้องกับกิจการ
ความน่าลงทุนในประเทศสิงคโปร์
- เป็นสนามเศรษฐกิจที่สำคัญหลังจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่โลกกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้
และจะมีการเจริญเติบโตที่แข็งแกร่งที่สุดในภูมิภาค
- เป็นประเทศที่เป็นฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรมชั้นสูง ให้การสนับสนุนด้านการคิดค้น/วิจัย
และพัฒนาผลิตภัณฑ์
- สิงคโปร์ได้รับประโยชน์และโอกาสทางเศรษฐกิจจากการเจริญเติบโตของประเทศจีนและ
อินเดีย จึงเป็น Gateway ได้อย่างมีศักยภาพและในขณะเดียวกันมุ่งเน้นตลาดตะวันออกกลาง และภูมิภาคเอเชีย
- เป็นทำเลที่มีความมั่นคง แน่นอน คาดการณ์ได้และมีนโยบายภาครัฐที่ชัดเจน
- มีสมรรถนะทางอุตสาหกรรม ความน่าเชื่อถือ ความรู้/ความชำนาญและมีเครือข่ายการติดต่อธุรกิจที่ดี
- มีการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาและมีกฎหมายอย่างชัดเจน
- มีความชำนาญด้านเทคนิคและมีแรงงานที่มีความรู้ความสามารถ
- มีการผลักดันให้ประเทศเป็นศูนย์กลางในด้านต่างๆ ได้แก่ การเงิน/การธนาคาร การพาณิชย์ การบิน/อวกาศ ด้านแฟชั่น การบัญชี การขนส่ง เป็นต้น
2.4 สิทธิประโยชน์ในการลงทุน
สิทธิพิเศษที่สิงคโปร์ให้กับประเทศคู่ค้า ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบอาเซียนและ FTA โดยเป็นสินค้าและ การให้บริการ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและส่งผลให้สิงคโปร์มีบทบาทในเวทีเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่ปรากฏอย่างชัดเจน ได้แก่ ความสัมพันธ์กับตะวันออกกลาง ซึ่งไม่เพียงแต่ส่งผลดีในด้านมูลค่า ทางการค้าเท่านั้น แต่ยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างความเข้าใจทางการเมืองและศาสนาระหว่างกัน ซึ่งสิงคโปร์ เป็นประเทศที่มีประชากรรวมหลายชาติ/ศาสนา รวมทั้งประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามด้วยลู่ทางการค้าและการลงทุนสิงคโปร์มีเป้าหมายที่จะขยายการลงทุนในสาขาต่างๆเพิ่มขึ้น เช่น การสื่อสาร โทรคมนาคม IT การให้บริการด้านการเงิน/การธนาคาร การศึกษา การสาธารณสุข การค้นคว้าและวิจัยเภสัชภัณฑ์และธุรกิจบริการ
จุดแข็งทางการค้าและการลงทุน
1. สิงคโปร์มีความเชี่ยวชาญในการจัดการทรัพยากรบุคคลบริหารจัดการธุรกิจ เป็นตลาดเทคโนโลยีของเอเชียแห่งหนึ่ง มีจุดเด่นเรื่องทำเลที่ตั้งทำให้เป็นเมืองท่าที่สำคัญของโลกมีเครือข่ายธุรกิจกับคนสัญชาติจีนในประเทศต่างๆ มีระบบLogistics ในการจัดการด้าน Supply Chain ในระดับมาตรฐานโลกรวมทั้งการเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญทำให้สิงคโปร์เป็นฐานในการทำการค้ากับทั่วโลก เช่น
• ประตูเปิดสู่เอเชีย-แปซิฟิก
• ศูนย์กลางการค้า/บริการของภูมิภาค
• ศูนย์กลางการเดินเรือพาณิชย์
• ศูนย์กลางการเงินของภูมิภาค
• ศูนย์กลางการบินพาณิชย์
2. สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีนโยบายการค้าเสรีโดยมีมาตรการควบคุมการส่งออก - นำเข้าสินค้าเพียงบางรายการทั้งยังเป็นประเทศที่ทำธุรกิจในลักษณะ Trading Hub ดังนั้นประเทศไทยควรใช้สิงคโปร์ เป็นแหล่งส่งออก (re-export) สินค้าไปสู่ประเทศที่สาม เพื่อขยายการส่งออกโดยอาศัยจุดแข็งของสิงคโปร์ ในด้านการจัดการการเงิน/ธนาคารการสื่อสารและการคมนาคมขนส่ง
3. สิงคโปร์มีนโยบาย Regionalization คือ จะทำการค้าและการลงทุนกับประเทศในเอเชียมากขึ้น ดังนั้นไทยควรพิจารณาร่วมลงทุนกับสิงคโปร์ ทั้งในด้านการผลิตและการตลาดเพื่อเจาะตลาดในภูมิภาค
ข้อความที่เกี่ยวข้องภาษาไทย
บริการข้อมูลธุรกิจ,ระบบบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสินเชื่อ,การพัฒนา และบริหารจัดการฐานข้อมูล,การบริหารความเสี่ยงด้านสินเชื่อ,ประเมินความเสี่ยงการทำธุรกิจระหว่างประเทศ,การวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ
ข้อความที่เกี่ยวข้องภาษาอังกฤษ
business information services,credit risk management solution,database building & management solution,Business Information & Credit Risk Management
ข้อมูลที่มา หนังสือ Bussiness Plus
-------------------------------------
AR GROUP : ผู้ให้บริการความรู้