คลังความรู้ สู่สังคมไทย | Advanced Research Group

Back

ข้อมูลการลงทุนเชิงลึกในตลาดสปป.ลาว

ข้อมูลการลงทุนเชิงลึกในตลาดสปป.ลาว

13-12-2016

   1.    การจัดตั้งบริษัท
1.1    ค่าใช้จ่ายเบื้องต้น
1.2    การเตรียมเอกสาร
1.3    การยื่นเอกสารขอจดทะเบียน
1.4    สิ่งที่ต้องทำเมื่อได้ใบทะเบียนธุรกิจ

   2.    การลงทุนใน สปป.ลาว
2.1    อำนาจการอนุมัติในการลงทุน
2.2    รูปแบบการลงทุนของผู้ลงทุนต่างประเทศ
2.3    ขั้นตอนการลงทุนและสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ลงทุน
2.4    ประเภทของการลงทุน และสัดส่วนการลงทุน

   3.    การเลือกทำเลที่ตั้งในการประกอบธุรกิจ
3.1    เขตนิคมอุตสาหกรรมหลัก
3.2    สิทธิประโยชน์ที่ให้แก่ผู้ลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ


   1.  การจัดตั้งบริษัท
       
 ผู้ประกอบการที่มีความประสงค์จะจัดตั้งบริษัท จะต้องจดทะเบียนธุรกิจหรือในภาษาลาวเรียกว่า “การขึ้นทะเบียนวิสาหกิจ” กับกรมทะเบียนและคุ้มครองวิสาหกิจ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ซึ่งได้จัดระบบให้บริการจดทะเบียนธุรกิจ ณ จุดเดียว (One Stop Service) ไว้เพื่ออำนวยความสะดวก   แก่ผู้ขอจดทะเบียนธุรกิจสำหรับธุรกิจประเภททั่วไป เรียกว่าบริการจดทะเบียนธุรกิจแบบ “ประตูเดียว” ดังนั้น เมื่อผู้ประกอบธุรกิจศึกษารายละเอียดในการดำเนินธุรกิจใน สปป.ลาว และกำหนดลักษณะขององค์กรธุรกิจ    ได้แล้ว ผู้ขอจดทะเบียนธุรกิจสามารถขอใช้บริการจดทะเบียนธุรกิจแบบ “ประตูเดียว” ได้จากหน่วยงาน ในพื้นที่ที่ตนดำเนินธุรกิจหรือพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งหน่วยงานที่รัฐมอบหมายให้ดำเนินการแทนได้ มีดังนี้
1.    นครหลวงเวียงจันทน์ ติดต่อกรมทะเบียนและคุ้มครองวิสาหกิจ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้านครหลวงเวียงจันทน์ โทร. (856 - 21) 412 011 แฟกซ์ (856 - 21) 453 865 เว็บไซต์ www.laotradeportal.gov.la
2.    แขวงอื่นๆ ติดต่อแผนกอุตสาหกรรมและการค้า ในแต่ละแขวงโดยสามารถค้นหา เบอร์โทรศัพท์ได้จากสมุดหน้าเหลือง ซึ่งพิมพ์จำหน่ายออกแต่ละปีหรือเว็บไซต์ www.laoyp.com
3.    ระดับเมือง ติดต่อสำนักงานอุตสาหกรรมและการค้าเมืองของแต่ละเมืองทั่วประเทศ โดยสามารถตรวจสอบเบอร์โทรศัพท์ได้จากแผนกอุตสาหกรรมและการค้าในแต่ละแขวง
         ทั้งนี้ ขอบเขตสิทธิ์ในการพิจารณาอนุมัติการจดทะเบียนธุรกิจ ณ ส่วนกลาง ระดับแขวง และระดับเมืองนั้น อาจมีความแตกต่างกันตามประกาศเลขที่ 0458/อค.สลท ลงวันที่ 1 มีนาคม 2555 ส่วนการจดทะเบียนบริษัทมหาชน ต้องขออนุมัติการจดทะเบียนธุรกิจกับกรมส่งเสริมการลงทุนทั่วไป กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบ 
         นอกจากนี้ยังมีธุรกิจบางประเภทที่กระทรวงที่เกี่ยวข้องขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาอนุมัติด้วยตนเอง ซึ่งผู้จดทะเบียนธุรกิจสามารถตรวจสอบบัญชีประเภทธุรกิจดังกล่าวได้ในรายชื่อ “บัญชีประเภทธุรกิจ, ขนาดธุรกิจ, ประเภทวิสาหกิจและรูปแบบบริษัทที่ชั้นกระทรวง (บรรดากระทรวง) สงวนไว้พิจารณาก่อนอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนวิสาหกิจ” 
         อย่างไรก็ดี อำนาจในการอนุมัติการจดทะเบียนธุรกิจที่กล่าวมานี้ ไม่รวมถึงการจดทะเบียนธุรกิจเพื่อลงทุนในสัมปทานรัฐ ซึ่งต้องติดต่อหน่วยงานแผนการและการลงทุนส่วนกลาง กระทรวงแผนการและการลงทุน (Ministry of Planning and Investment) หรือสำนักงานที่รับผิดชอบการให้บริการในท้องถิ่นนั้นๆ และไม่รวมการจดทะเบียนธุรกิจเพื่อลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ซึ่งต้องติดต่อคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อการคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษหรือเขตเศรษฐกิจเฉพาะในแต่ละแห่ง

    1.1  ค่าใช้จ่ายเบื้องต้น
ลำดับ    ทุนจดทะเบียนธุรกิจ ค่าธรรมเนียม (กีบ)
1    น้อยกว่า 1,000,000 กีบ  ไม่มี
2    ตั้งแต่ 1,000,001 – 10,000,000 กีบ    20,000
3    ตั้งแต่ 10,000,001 – 20,000,000 กีบ    50,000
4    ตั้งแต่ 20,000,001 – 50,000,000 กีบ    100,000
5    ตั้งแต่ 50,000,001 – 100,000,000 กีบ    300,000
ลำดับ    ทุนจดทะเบียนธุรกิจ    ค่าธรรมเนียม (กีบ)
6    ตั้งแต่ 100,000,001 – 400,000,000 กีบ    500,000
7    ตั้งแต่ 400,000,001 – 1,000,000,000 กีบ    1,000,000
8    ตั้งแต่ 1000,000,001 – 10,000,000,000 กีบ    2,000,000
9    ตั้งแต่ 10,000,000,001 – 20,000,000,000 กีบ    3,000,000
10    มากกว่า 20,000,000,000 กีบ    5,000,000

   1.2     การเตรียมเอกสาร
 1.2.1  เตรียมเอกสารเบื้องต้น ได้แก่ 
         -  สำเนาบัตรประชาชน และหนังสือเดินทาง (Passport)
-  ใบยืนยันสถานภาพจากตำรวจสันติบาล
-  ใบยืนยันสถานะทางการเงินจากธนาคารพาณิชย์ภายใน สปป.ลาว
-  ใบมอบฉันทะ หรือใบมอบสิทธิ์ ของผู้ได้รับมอบหมายให้มาแจ้งขึ้นทะเบียนวิสาหกิจ
-  รูปถ่ายขนาด 3×4 นิ้ว จำนวน 3 ใบ
     1.2.2  กำหนดทุน และทุนจดทะเบียน โดยกำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 1,000 ล้านกีบ 
(ประมาณ 4 ล้านบาท/คน)
 1.2.3.  เขียนคำร้องแจ้งขึ้นทะเบียนวิสาหกิจ แล้วยื่นผ่านบริการจดทะเบียนธุรกิจแบบ “ประตูเดียว”

   1.3    การยื่นเอกสารขอจดทะเบียน      

          ผู้ลงทุนจะต้องเขียนคำร้องดังกล่าวต่อหน้าเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการในท้องที่ที่ตนจะลงทุน ดังนี้
    -  การลงทุนทั่วไป
           
  ยื่นเอกสารผ่านบริการจดทะเบียนธุรกิจแบบ “ประตูเดียว” (ตามรายละเอียดในข้อ “2.2  การจัดตั้งบริษัท” ข้างต้น) โดยหากเป็นกิจการนอกบัญชีควบคุม เจ้าหน้าที่ทะเบียนวิสาหกิจจะพิจารณาออกใบทะเบียนวิสาหกิจให้ภายใน 10 วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับคำร้องแต่หากอยู่ในบัญชีควบคุม เจ้าหน้าที่ทะเบียนวิสาหกิจจะส่งคำร้องให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องพิจารณาเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบภายใน 10 วันทำการ      หากผลออกมาว่าเห็นชอบ เจ้าหน้าที่ทะเบียนวิสาหกิจจะอนุมัติการจดทะเบียนธุรกิจให้ภายใน 3 วันทำการ หลังจากนั้นจึงส่งใบทะเบียนวิสาหกิจไปยังฝ่ายป้องกันความสงบเพื่อตรวจตราประทับ ซึ่งจะแล้วเสร็จภายใน 7 วันทำการ
  -  การลงทุนในสัมปทานรัฐ
ติดต่อหน่วยงานแผนการและการลงทุนส่วนกลาง กระทรวงแผนการและการลงทุน (Ministry of Planning and Investment) หรือสำนักงานที่รับผิดชอบการให้บริการในท้องถิ่นนั้น
-    การลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ
ติดต่อคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อการคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษหรือเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ในแต่ละแห่ง

1.4  สิ่งที่ต้องทำเมื่อได้ใบทะเบียนธุรกิจ

 1.4.1  ขออนุญาตดำเนินกิจการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งแล้วแต่กรณี เช่น การขออนุญาตทางด้านเทคนิคหรือการขอใบยืนยันเพื่อดำเนินกิจการ เป็นต้น
 1.4.2  นำใบทะเบียนธุรกิจ (ภาษาลาว ใช้คำว่า “ใบทะเบียนวิสาหกิจ”) พร้อมเอกสารประกอบ ไปดำเนินเรื่องจัดทำตราประทับ (ภาษาลาวใช้คำว่า “ขอควัดกาประทับ”) และขอใบอนุญาตใช้ตราประทับ ณ กรมคุ้มครองสำมะโนครัว กระทรวงป้องกันความสงบ (Ministry of Public Security) ในนครหลวงเวียงจันทน์ โทร. (856 - 21) 970 378, (856 - 21) 970 654 หรือติดต่อห้องรับเอกสาร (ขาเข้า - ขาออก) กระทรวงป้องกันความสงบ โทร. (856 - 21) 970 089
      1.4.3  ปฏิบัติตามขั้นตอนการดำเนินธุรกิจ อาทิ การประชุมผู้ถือหุ้นและการจัดจ้างแรงงาน ให้สอดคล้องตามระเบียบและกฎหมายของ สปป.ลาว
     1.4.4  ดำเนินธุรกิจและภายใน 90 วัน
     1.4.5  โอนเงินเพื่อชำระทุนเบื้องต้นเข้ามายัง สปป. ลาว ภายใน 90 วันทำการ และส่วนที่เหลือภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับใบทะเบียนธุรกิจ

 

บอกต่อ : 
The Knowledge Provider (AR Group)

Back