The Knowledge Provider | Advanced Research Group

Back

พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ ฉบับที่ 2

พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ ฉบับที่ 2

05-06-2017

ตามที่เราทราบกันแล้วว่า พรบ.คอมฯ ฉบับใหม่ เริ่มมีผลใช้บังคับแล้ว เมื่อ 22 พฤษภาคม 2560 นั้น ส่วนใหญ่ยังคงเนื้อหาเหมือนฉบับที่ 1 แต่เพิ่มบทลงโทษ หรือระบุข้อความให้ละเอียดชัดเจนมากขึ้น มีการยกเลิกหลายมาตราและเพิ่มอีกหลายมาตราเช่นกัน แต่ทั้งหมด หากเราใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อความรู้ โดยไม่ไปกล่าวร้าย หรือทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน รำคาญ หรือได้รับความเสียหายจากการกระทำของเรา  พรบ.คอมฯ ก็ไม่ได้มาจับผิดอะไรเรา มีแต่จะช่วยคุ้มครองเราให้ปลอดภัยยิ่งขึ้นค่ะ

ที่จะเขียนด้านล่างต่อไปนี้ เป็นเพียงบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างพวกเราเท่านั้นนะคะ เพราะพรบ. ยังมีอีกหลายส่วน ทั้งส่วนที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ หรือคณะกรรมการฯ (คุณสามารถอ่านพรบ.ฯ ฉบับสมบูรณ์ได้ที่ https://goo.gl/5vDrSu ) บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อย้ำให้พวกเราระมัดระวังในการใช้งานอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ไม่สมควรนำไปใช้อ้างอิง หากเกิดการกระทำความผิดขึ้น

  1. ถ้าส่งเมล์ประเภทโฆษณาขายของ / แนะนำสินค้า ถือเป็นสแปม, การฝากร้านใน IG, Facebook ถือเป็นสแปม, การส่ง SMS โฆษณา โดยไม่ได้รับความยินยอม ถือเป็นสแปม ต้องเปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถยกเลิก หรือปฏิเสธการไม่รับได้โดยง่าย ถ้าไม่ทำหรือทำผิด ปรับ 200,000 บาท
     
  2. ถ้าเข้าถึงข้อมูลหรือระบบ โดยมิชอบ (มาตรา 5, 7) / เผยแพร่ข้อมูลที่รู้มา ซึ่งไม่ใช่ของตน (มาตรา 6) / ดักจับข้อมูลส่วนบุคคลหรือเป็นความลับ ระหว่างส่งผ่านช่องทางต่าง ๆ (มาตรา 8) หรือการปกปิด ปลอมแปลงแหล่งที่มาของผู้ส่ง (สแปม) (มาตรา 11) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรักษาความความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ / เศรษฐกิจ หรือโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นประโยชน์สาธารณะ จำคุก 1-7 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 – 140,000 บาท
     
  3. ถ้าการกระทำความผิด ตามมาตรา 5, 6, 7, 8, 11 และก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลในระบบ (การโจมตีระบบหรือโจมตีข้อมูลให้ได้รับความเสียหาย) จำคุก 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 – 200,000 บาท
     
  4. ผู้ให้บริการเว็บไซต์ ให้ความร่วมมือ ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจ ให้มีการกระทำความผิด เกี่ยวกับการนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ เช่น ตัดต่อ ดัดแปลง สร้างขึ้นใหม่ โดยทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย เดือดร้อน เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น เหยียบหยาม อับอาย จำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท แต่หากมีคนแจ้ง และผู้ให้บริการระงับการเผยแพร่แล้ว หรือพิสูจน์ได้ว่า ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการกระทำความผิดนั้น ไม่ต้องรับโทษด้วย
     
  5. การจำหน่าย จ่าย แจก Source Code เพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา 5, 6, 7, 8, 9, 10 โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
     
  6. การกด Like หรือ Shared ในข้อมูลไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ บทความ หรือ ภาพเคลื่อนไหวใด ๆ ที่ขัดต่อกฎหมายมาตรา 112 (หมวดพระมหากษัตริย์) ถือเป็นความผิดตามกฎหมายตาม มาตรา 112 แต่ถ้าไม่ใช่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายมาตรา 112 สามารถกด Like ได้ตามปกติ แต่หากข้อความที่ไปกด Like เป็นข้อความโพสด่าคนอื่นไม่ว่าจะเป็นวีดีโอ ตัวอักษร หรือ ตัดต่อรูปและวีดีโอคนอื่น เพื่อให้เขาเสื่อมเสียชื่อเสียง ก็ผิดนะคะ ผู้ถูกกล่าวหาสามารถฟ้องร้องได้
     
  7. หากเกิดคดีฆาตกรรม หรืออุบัติเหตุที่มีภาพผู้เสียชีวิตแล้วนำมาเผยแพร่ต่อโดยไม่ได้ตัดต่อ หรือปิดบังภาพทำให้เกิดความไม่สวยงามรวมถึงการให้ข้อมูลของผู้เสียชีวิตแบบผิด ๆ หรือดูถูกเหยียดหยามผู้เสียชีวิตบนอินเทอร์เน็ตไม่ว่าช่องทางไหน ญาติของผู้เสียชีวิตสามารถฟ้องร้องได้
     
  8. ถ้ามีการลงข้อมูลซึ่งไม่ดีกับเด็ก/เยาวชนจะต้องปิดบังหน้าทุกครั้ง ยกเว้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความดี เช่น การได้รับรางวัล หรือกล่าวชื่นชมในทุกกรณี ไม่ต้องปิดบังใบหน้า
     
  9. การเอารูป เพลง วีดีโอ ข้อความ ของคนอื่นไปใช้โดยไม่ขออนุญาตเจ้าของสามารถฟ้องได้
     
  10. การส่งข้อความและรูปสวัสดีสามารถส่งต่อได้แต่ห้ามนำไปใช้เชิงพานิชย์ แต่ต้องคำนึงถึงเรื่องไม่ก่อให้ผู้รับเกิดความเดือดร้อน รำคาญใจด้วย

               

บอกต่อ : 
The Knowledge Provider (AR Group)

Back