The Knowledge Provider | Advanced Research Group

Back

กฎระเบียบการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในเยอรมนี

กฎระเบียบการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในเยอรมนี

03-02-2017

   กฎระเบียบการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในเยอรมนี

ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเป็นสินค้าที่ถูกควบคุมโดยกฎหมายในแต่ละประเทศทั่วโลก เพื่อควบคุมสินค้าให้มี ควำมปลอดภัย มีคุณภาพ และมีสรรพคุณตามที่กล่ำวอ้าง ฉะนั้นการนำผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเข้ำมำในเยอรมนีจึงจำเป็นต้องผ่านขั้นตอนตามกฎระเบียบการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของสหภาพยุโรป (อียู) เช่นเดียวกับประเทศสมาชิกอียูอื่นๆ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้บริโภคในทุกด้าน

สหภาพยุโรปภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมาธิการยุโรป ได้ออกกฎหมาย Directive 2003/15/EC ตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2556 เพื่อแก้ไขกฎหมายเครื่องสำอางเดิม (Directive 76/768/EEC) แต่ปัจจุบันกฎหมาย Derective 2003/15/EC ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น EU Cosmetics Regulations ซึ่งทุกประเทศสมาชิกอียูจะต้องปฏิบัติตามภายใต้มาตรฐานเดียวกันตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2556 เป็นต้นไป โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่วางจำหน่ายในอียูนั้นมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคของสหภาพยุโรป

นิยามความหมายของคำว่า “เครื่องสำอาง” (Cosmetics) หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารที่นำไปใช้สัมผัสกับ อวัยวะภายนอกของมนุษย์เช่น ผิวหนัง เส้นผม เล็บ ริมฝีปาก เป็นต้น หรือใช้กับฟัน เยื่อบุช่องปาก มีจุดประสงค์เพื่อทำควำมสะอาด ให้กลิ่นหอม ระงับกลิ่นกาย เสริมความงามให้ดูดียิ่งขึ้น ป้องกัน รักษาให้อยู่ในสภาพที่ดี

กฎระเบียบพื้นฐานผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางใน EU
1. การปฏิบัติตำมกฎระเบียบระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยจากการใช้ผลิตภัณฑ์
2. กรรมวิธีการผลิตต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในกำรผลิตเครื่องสำอาง (Good Manufacturing Practice: GMP) ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับกำรจัดเก็บเอกสาร การควบคุมการผลิต การควบคุมการจัดเก็บ การขนส่งผลิตภัณฑ์ ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพสินค้า เป็นต้น
3. การกำหนดแนวทางการจัดทำข้อมูลทางด้านวิชาการละราละเอียดผลิตภัณฑ์ (Product Information File: PIF) ภาหลังการวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์รอบสุดท้ำย และพร้อมให้หน่วยงานที่กำกับดูแลตรวจสอบได้
4. การประเมินความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นข้อมูลในภาคผนวก 1 (Annex I) ของ EU Cosmetics Regulations โดยสำมารถตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์
http://ec.europa.eu/consumers/cosmetics/cosing/index.cfm?fuseaction=ref_data.annexes_v2
5. การควบคุมสารจำเพาะ
- มีการระบุรายชื่อสำรต้องห้ามในภาคผนวก (Annex II) สารที่กำหนดเงื่อนไขและปริมาณการใช้ (Annex III) สารย้อมสี (Annex IV) สารกันเสีย (Annex V) และสารกรองแสง UV หรือ UV-filters (Annex VI)
- มีการห้ามใช้สารหรือส่วนประกอบที่ถูกจัดอยู่ในประเภทมีฤทธิ์ก่อมะเร็ง มีฤทธิ์ทางพันธุกรรม และก่อให้เกิดพิษ (CMR: Carcinogenic, Mutagenic, Reprotoxic)
6. การห้ามวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ผ่านการทดลองด้วยสัตว์ หรือมีส่วนประกอบที่ผ่านการทดลองด้วยสัตว์ และห้ามการทดลองผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางหรือส่วนประกอบเครื่องสำอางด้วยสัตว์
7. ข้อกำหนดการแสดงฉลาก โดยข้อความบนฉลาก บรรจุภัณฑ์หรือหีบห่อต้องระบุข้อมูลของผลิตภัณฑ์ด้วยตัวอักษรที่ชัดเจน ง่ายต่อการอ่าน ภาษาที่ใช้บนฉลากควรเข้าใจง่ายและเหมาะสม บนผลิตภัณฑ์นั้นจะต้องระบุข้อมูลดังนี้
- ชื่อและที่อยู่ของผู้รับผิดชอบสินค้าในอียู
- ประเทศต้นกำเนิดของสินค้าที่นำเข้า
- ขนาดบรรจุ/ปริมาณสุทธิ
- ระยะเวลาและวันหมดอายุสินค้า

สัญลักษณ์นาฬิกาทรายจะใช้สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการใช้งานน้อยกว่า 30 เดือน และจะต้องระบุเดือนปี หรือวันเดือนปีที่หมดอายุ หรือระบุด้วยข้อความ Mindestens haltbar bis และตามด้วยวันเดือนปีที่หมดอายุ
สัญลักษณ์กระปุกเปิดฝาจะใช้สำหรับผลิตภัณฑ์มีอายุการใช้งานมากกว่า 30 เดือน และจะต้องกำหนดวันหมดอายุหลังจากการเปิดใช้งานครั้งแรก
8. แนวทางการกล่าวอ้างสรรพคุณ
9. การให้เปิดเผยข้อมูลผลิตภัณฑ์แก่สาธารณะ
10. การแจ้งให้ทราบถึงผลข้างเคียงจากกาใช้ผลิตภัณฑ์ต่อคณะกรรมาธิการยุโรป และมาตรการแก้ไข

การจัดจำหน่ายเครื่องสำอางในเยอรมนี
หากมีกาเรขำเข้าเคครื่องสำอางจากนอกประเทศสหภภาพยุโรปเพื่อใช้บริการลูกค้า หรือจัดจำหน่าย “ผู้แทนจำหน่าย หรือ ผู้นำเข้า” ที่มีถิ่นฐานอยู่ในเยอรมนีจะต้องเป็น “ผู้รับผิดชอบ” ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางนั้นโดยตรงตามกฎระเบียบฉบับใหม่นี้ ในกรณีที่เกิดความเสียหายต่อผู้บริโภค รวมถึงจะต้องเป็นผู้ดำเนินการนำสินค้ำไปขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ให้ถูกต้อง โดยผู้ส่งออกหรือผู้ผลิตจะต้องส่งมอบเอกสำรข้อมูลทางด้านวิาการและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ (PIF) ให้แก่ “ผู้แทนจำหน่าย หรือ ผู้นำเข้า”

ลิงค์ บทความฉบับเต็ม http://thaiembassy.de/site/images/stories/LabourNews/2015/cosmetic.pdf

จัดทำโดย ฝ่ายแรงงาน สอท. เบอร์ลิน  25 ม.ค. 58
ข้อความที่เกี่ยวข้องภาษาไทย
บริการข้อมูลธุรกิจ,ระบบบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสินเชื่อ,การพัฒนา และบริหารจัดการฐานข้อมูล,การบริหารความเสี่ยงด้านสินเชื่อ,ประเมินความเสี่ยงการทำธุรกิจระหว่างประเทศ,การวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ
ข้อความที่เกี่ยวข้องภาษาอังกฤษ
business information services,credit risk management solution,database building & management solution,Business Information & Credit Risk Management
ข้อมูลที่มา หนังสือ Bussiness Plus
-------------------------------------
AR GROUP : ตอบแทนสู่สังคมไทย

บอกต่อ : 
The Knowledge Provider (AR Group)

Back